Page 8 - นวัตกรรม ดร.นันทนา ลีลาชัย
P. 8

2


                                         ี่
               ได้สรุปว่าภาษาไทยเป็นทักษะทต้องฝึกฝนจนเกิดความชำนาญในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร การเรียนรู้อย่างมี
               ประสิทธิภาพ  และเพื่อนำไปใชในชีวิตจริง ภาษาไทยได้กำหนดให้นักเรียน ได้เรียนรู้ใน 5 สาระ คือ การอ่าน
                                         ้
               การเขียน การฟัง การดู และการพูด หลักการใช้ภาษา วรรณคดและวรรณกรรม (กระทรวงศึกษาธิการ, 2552
                                                                   ี
               ก: 2-3)
                         การอ่านและการเขียนเปนทักษะที่สำคัญ และมีบทบาทในการเรียนรู้ การอ่านเป็นหัวใจสำคัญของ
                                              ็
               กิจกรรมทั้งหลายในการเรียนของนักเรียน ครูจึงให้ความสำคัญในการอ่านและส่งเสริมให้เด็กมีความเข้าใจใน

               การอ่านมากขึ้น ขณะเดียวกันการเขียนก็มีความสำคัญและจำเป็นต้องสอนควบคู่ไปกับการสอนอ่าน เพราะ
               หากเขียนผิดก็จะทำให้การสื่อความหมายผิดไปจากเจตนาของผู้เขียน (กาญจนา นาคสกุล, 2550 หน้า 3)
                      ิ
               ดังที่ สลล ศิริมงคล (2546, หน้า 19-20) ได้ให้แนวทางในการจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะการเขียนว่าการอ่าน
                                                       ี่
                                                        ่
               เรื่องซ้ำบ่อย ๆ ตามความต้องการของหลักสูตรทสงเสริมให้เด็กรักการอ่านเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับการเรียน
               มากที่สุด การอ่านมากเท่าไร เด็กก็จะสามารถเก็บเกี่ยวเอาความรู้ ความชำนาญทางภาษาและประสบการณ ์
               ต่างๆ มากพอที่จะนำมาเป็นเครื่องมือในการเขียนได้ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการอ่านและการเขียนมีความสัมพันธ์
               กันอย่างมาก ถ้าเด็กอ่านไม่ออกจะไม่สามารถเขียนสื่อสารถึงความรู้สึกของตนเองได้ ได้เพียงแต่เขียนลอกตาม
               ตัวอักษรเท่านั้น ซึ่งสอดคล้องกับบงกช สิงหกุล (2550, หน้า 25) ที่กล่าวถึง ความสัมพันธ์ระหว่างการอ่านและ

               การเขียนว่า นักเขียนที่ดีมักจะเป็นนักอ่านที่ดี นักเขียนที่เก่ง มักจะอ่านมากกว่านักเขียนที่ไม่เก่ง และนักอ่านท ี่
               เก่งมักจะเขียนประโยคได้ดีกว่านักอ่านไม่เก่ง
                         จากประสบการณ์การสอนวิชาภาษาไทย ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมัธยมศึกษา

               เทศบาล ๓ “ยุติธรรมวิทยา” ในปีการศึกษา 2564 ผู้รายงานได้ทดสอบนักเรียนโดยให้อ่านเพื่อสังเคราะห์
               ความรู้จากบทอ่านที่นำมาจากสถานการณปัจจบัน เมื่อตรวจผลงานพบว่าร้อยละ 60 ของนักเรียนยังมี
                                                  ์
                                                      ุ
               ข้อบกพร่องในทักษะการเรียนรู้ภาษาไทยด้านการอ่านสังเคราะห์ คือ ยังไม่สามารถอ่านจับใจความ อ่าน
               ตีความ อ่านวิเคราะห์ อ่านสรุปความได้ จึงทำให้ไม่สามารถรวบรวมสารที่อ่านมาเรียบเรียงเป็นความคิดและ
               เกิดความเข้าใจเรื่องราวที่อ่านตรงกับเรื่องราวที่ผู้เขียนต้องการสอ ส่งผลให้ไม่สามารถเขียนเรียบเรียงเรื่องราว
                                                                    ื่
               ความรู้ ประสบการณ์ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็นของผู้เขียนให้อยู่ในรูปแบบลายลักษณ์อักษร เพื่อถ่ายทอดและ
               นำเสนอเรื่องราวต่าง ๆ สู่ผู้อ่านได
                                           ้
                         ดังนั้นผู้รายงานจึงมีความตั้งใจที่จะพัฒนาทักษะการเรียนรู้ภาษาไทยในทักษะการอ่าน และทักษะ

               การเขียน แต่เนื่องจากในสถานการณ์ปัจจบันประเทศไทยเกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
                                                 ุ
                                                                                 ี่
               2019 (Coronavirus Disease 2019: COVID-19) ซึ่งจังหวัดสกลนครก็มีผู้ป่วยทติดเชื้อไวรัสเพิ่มขึ้นทุกวัน
               ส่งผลกระทบให้โรงเรียนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนแบบปกติได้ จึงจำเป็นต้องใช้รูปแบบการเรียนการสอน
                                                                                                 ้
               แบบออนไลน์ เพื่อให้การเรียนรู้เกิดความต่อเนื่อง การเรียนการสอนแบบออนไลน์มีองค์ประกอบ ไดแก่ ผู้สอน
               ผู้เรียน เนื้อหา สื่อการเรียนและแหล่งเรียนรู้ กระบวนการจัดการเรียนรู้ ระบบการติดต่อสื่อสาร ระบบ
               เครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ การวัดและการประเมินผล รูปแบบการเรียนการสอนมีหลากหลายวิธีที่ทำให้
               ผู้สอนและผู้เรียนมีปฏสัมพันธ์ร่วมกันได การพิจารณาองค์ประกอบและรูปแบบทสอดคล้องเหมาะสมกับ
                                                                                 ี่
                                                ้
                                 ิ
               ลักษณะวิชา และบริบทของผู้เรียนจะนำไปสู่การประยุกต์ใช้สำหรับการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์
                                           ้
               อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้รายงานไดเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริม
               การจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ในวันที่ 18 -19
               พฤษภาคม 2564 จัดโดยสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสกลนคร จึงทำให้ได้แนวทางการจัดการเรียนการสอน
                                                                                                ้
               ออนไลน์ที่จะนำมาปรับประยุกต์ใช้ร่วมกับทฤษฎี แนวคิด วิธีการสอนอื่น ๆ ให้สอดคล้องกับความตองการที่จะ
               พัฒนาทักษะการเรียนรู้ภาษาไทยได้
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13