Page 10 - นวัตกรรมกครูกาญจนา คิง
P. 10

5


                           8.6 แนวทางจัดกิจกรรมการสอนทักษะปฏิบัติ
                             ขั้นรู้ชัดเห็นจริง กิจกรรมการเรียนการสอนได้แก่

                               1. การบรรยายนำ เป็นการนำเข้าสู่บทเรียน ให้เกิดความหน้าสนใจและให้ข้อมูลหรือ
               ความรู้ที่จำเป็นควรเป็นการใช้เวลาที่สั้น และดึงการมีส่วนร่วมจากผู้เรียน เช่น การตั้งคำถาม หรือยกตัวอย่างที่
               ใกล้ตัวและให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น
                               2. สถานการณ์จำลอง แบ่งได้เป็น 2 ชนิด

                                          ึ
                                 กรณีศกษา คือ วิทยากรตั้งเป็นโจทย์ ให้ผู้เรียนคิดและแสดงความเห็นว่า จะกระทำ
                             ึ
               อย่างไรกับกรณีศกษา
                                 กรณีจำลอง คือ วิทยากรตั้งเป็นโจทย์ และแสดงการสนทนาตอบโต้กับผู้เรียนทั้ง
               ห้อง  ซึ่งสมมติเป็นคู่สนทนา

                               3. การสาธิต มักให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมเป็นคู่สนทนาคนใดคนหนึ่ง  หรือเป็นทั้ง 2 คน โดย
               จะซักซ้อมบทกับผู้เรียนที่ขึ้นมาร่วมสาธิตก่อน หลังจากนั้นวิทยากรจะนำบทสนทนาขึ้นกระดาน หรือแผ่นใส
               เพื่ออภิปรายและประกอบการสนทนานั้น
                             ขั้นลงมือกระทำ กิจกรรมการฝึกอบรมแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ

                               1. การฝึกปฏิบัติ ทำได้โดย การฝึกบทบาทสมมติ การฝึกบทบาทสมมติ เป็นวิธีที่มี
               ประสิทธิภาพในการฝึกทักษะ โดยสมมติตัวละครและสถานการณ์ขึ้น  เพื่อให้ผู้เรียนสมมติตัวเองเป็นตัวละคร
               ตามโจทย์ ดังนั้นต้องกำหนดโจทย์ให้ชัดเจน คือ  สถานการณ์ บทบาทของตัวละคร 2 ฝ่าย และบทบาทของ

               ผู้สังเกตการณ  การฝึกบทบาทสมมติอาจแบ่งเป็นกลุ่ม 2 - 3 คน หรือกลุ่มย่อย 5 - 6 คน ยิ่งกลุ่มมีคนมากขึ้น
                           ์
               ก็จะมีการเรียนรู้กันเองมากขึ้นจากการอภิปรายกลุ่ม แต่จะใช้เวลามากกว่าจะฝึกได้ทั่วถึง
                               2. การประเมินการฝึก เป็นการช่วยกันสะท้อนความคิดว่า สิ่งที่ผู้ฝึกทักษะได้ทำไปนั้น
               ตรงตามขั้นตอนที่ควรจะเป็นหรือไม่ การประเมินผลสามารถทำได้โดยให้ผู้เรียนประเมินกันเองในกลุ่ม หรือ
               วิทยากรกับผู้เรียนช่วยกันประเมินในชั้นเรียน หรือทั้ง 2 แบบ ในกรณีแรก ผู้เรียนประเมินเอง วิทยากรควร

               กำหนดในใบงานให้ชัดเจนว่า จะประเมินอย่างไร เช่น “หลังการฝึก ให้ผู้เรียนช่วยกันอภิปรายว่า
               ผู้ที่แสดงเป็นผู้ให้การปรึกษาทำได้ตามขั้นตอนหือไม่ ผู้รับการปรึกษาตอบสนองอย่างไร ขั้นตอนไหนที่มีความ
               ยุ่งยากในการฝึก” (กระทรวงศึกษาธิการ. 2546)

                               การให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติงานหรือกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนเกิดทักษะ คือความชำนาญ
               คล่องแคล่ว โดยปฏิบัติได้อย่างอัตโนมัติ มีขั้นตอนการปฏิบัติงาน เรียกว่า กระบวนการปฏิบัติ มีขั้นตอนการ
                                                            ่
               ปฏิบัติ  คือ  สังเกตและรับรู้ ทำตามแบบ ทำเองโดยไมมีแบบ ฝึกให้ชำนาญ
                         กระบวนการปฏิบัติ มีแนวทางการจัดกิจกรรมดังนี้

                               1. สังเกตและรับรู้ เช่น ครูนำเสนอผลงานจริง แล้วสาธิตพร้อมทั้งอภิปรายความสำคัญ
               วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ ขั้นตอนและวิธีการทำสิ่งนั้นๆ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจตรงกัน อาจใช้วีดีทัศน์ สไลด์
               หรืออื่น ๆ ประกอบ
                               2. ทำตามแบบ ให้นักเรียนปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดให้ หรือพานักเรียน

               ฝึกงานย่อย ๆ ทีละอย่าง โดยทำตามครู
                               3. ทำเองโดยไม่มีแบบ ให้นักเรียนฝึกปฏิบัติสิ่งนั้นด้วยตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งพาครู หรือ
               สิ่งอื่น ๆ
                               4. ฝึกให้ชำนาญ ให้นักเรียนฝึกฝนสิ่งนั้นบ่อยๆ จนเกิดความคล่องแคล่วจนปฏิบัติการ

               กระทำสิ่งนั้นโดยอัตโนมัติ
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15